ลูกหลานของมูราคามิ


ลูกหลานของมูราคามิ


จากบล็อก opera.com ห้วงคำนึงของหุ่นกระป๋องตัวหนึ่ง




มีประชากรนักเขียนนับหัวกันแล้วในประเทศนี้ อาจไม่ถึงสิบเปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรทั้งหมด
.........
หากนับด้วยฐานะของรายได้ที่บุคคลผู้เรียกตัวเองว่านักเขียนนั้น หาได้จากงานเขียนของตัวเองจริงๆ
.........
“แกลองคิดดูสิ ถ้านักเขียนเท่าที่มีอยู่น้อยนิด พากันเขียนเรื่องเกี่ยวกับตัวเอง อาทิเช่น เหตุไฉนหนอ ตูข้าถึงมาเป็นนักเขียน แล้วตูข้าจะฟันฝ่าสถานะของความล้มเหลวในผลงานที่วางอยู่บนความฝันที่สั่นคลอนได้อย่างไร มันคงจะน่าเบื่อพิลึกนะ ที่ทุกคนพากันเขียนเกี่ยวกับตัวเอง เพราะกรอบของคำว่า จงเขียนสิ่งที่คุณรู้ดีที่สุด มันครอบอยู่”
............
มันอีกแล้วครับทั่น เจ้านายผมมันเริ่มบ่นตามประสาอีกแล้ว หลังจากอ่านหนังสือ HARUKI STUDY BOOK MURAKAMI
..........
หรือฉบับแปลในชื่อภาษาไทยว่า ศาสดาเบสต์เซลเลอร์ ของ ‘ปราย พันแสง
.........
หนังสือเล่มนี้เปลื้องเปลือยชีวิตของนักเขียนผู้เปรียบเสมือนหลักปักหมุดให้กับงานเขียนสมัยใหม่ หลังยุคสงครามเย็น
..........
ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการแสวงหาตัวตน
..
ผมยังไม่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้อย่างจริงจัง อาศัยฟังเอาจากเจ้านายก็พอจับน้ำเสียงแกมอิจฉาของพี่แกได้ว่า
งานเขียนของมูราคามิ ในทัศนะของเคนซาบุโร โอเอะ ที่เป็น ภาพจำลองอนาคตญี่ปุ่นที่สะเปะสะปะไร้ทิศทาง นั้น มันมีอิทธิพล มันมี “อะไร” มากกว่าแค่การพร่ำบ่นถึงชีวิตของนักเขียนหนุ่มคนหนึ่ง ที่พยายามอย่างยิ่งในการเติมเต็มชีวิตอันว่างเปล่าไร้ทิศทาง ด้วยการดวลเบียร์เข้าไปจนเต็มกระเพาะ ตลอดฤดูร้อน
.............
“คุณและค่าของการที่นักเขียนคนหนึ่ง หรือคนที่กล้าเรียกตัวเองด้วยคำนั้น จรดพรมมือลงบนแป้นพิม์
เขียนแต่สิ่งที่เป็นส่วนตัวเอามากๆ อย่างชีวิตตัวเองลงในสิ่งที่เรียกว่า นิยาย นั้น วัดกันจากอะไร ?”
............
ผมอ้าปากหวอ สารภาพกับตัวเอง (โดยไม่กล้าเอ่ยกับเจ้านาย) ว่า กูก็ไม่รู้ (โว้ย !)
...........
เราวัดด้วยอะไรเหรอ ? จากงานเขียนชิ้นหนึ่ง
...........
สงครามและสันติภาพ ของทรอสทรอย มีคุณค่ามากกว่าหรือน้อยกว่า กลาย ของฟรันซ์ คาฟคา

“แกลองคิดดูสิ ถ้านักเขียนทุกคนในประเทศนี้ พากันเขียนเกี่ยวกับเรื่องของนักเขียนอีกคนในตัวเอง เราจะมีวรรณกรรมแบบไหนบนชั้นหนังสือ ฉันก็ไม่ได้อยากชี้นิ้วโบ้ยไปที่มูราคามิหรอกนาโว้ย
แต่เราหมกมุ่นอยู่กับการค้นหา ตั้งคำถาม รื้อคำตอบ สร้างคำถามชุดใหม่ พิสูจน์สมมุติฐานจากทฤษฎีที่เราก็ไม่ได้เชื่อมั่นอะไรนักหนา เพื่ออะไรวะ ? เพื่อบอกคนอ่านในหน้าสุดท้ายว่า ขอโต๊ด งานเขียนชิ้นนี้เป็นเรื่องของนักเขียนคนหนึ่งคร้าบบบ”
...........
เราอยู่ในยุคที่ไม่รู้ว่าควรจะเดินไปทางไหนจริงๆ หรือแค่เราแสแสร้งแกล้งทำ เพราะมันทำให้เราแตกต่างจากคนอื่นๆ กันแน่ ?
...........
ผมครุ่นคิดเรื่องนี้ เท่าที่สมองผุๆ ขึ้นสนิมของผมพอจะนึกออก
การปะทะของสองยุคสมัย
การวิพากษ์และวิจารณ์คนรุ่นใหม่ของคนรุ่นก่อน
เกิดและดำเนินไปอย่างคู่ขนานมาเสมอ ไม่ว่าในยุคสมัยไหน
แต่เสรีภาพแบบไหนกัน ที่เราปรารถนา
เราจะพากันเดินดุ่มๆ ในความมืด มีแสงจากไฟแช็คราคาถูกเพื่อส่องนำทาง
แล้วหลอกตัวเอง ว่านั่นถือวิถีของกบฎงั้นหรือ ?
.............
เพื่ออะไร ?
............
รอยทางของคนรุ่นก่อนที่ปูไว้ มันน่ารังเกียจ กระทั่งชวนให้ขยะแขยงถึงขั้นภาคเสธรากเหง้าตัวเองเชียวหรือ ?
......
ในทางตรงกันข้าม เมื่อเรากลายเป็นคนรุ่นก่อน แล้วหันหลังกลับไปมอง คนรุ่นหลังที่กำลังก้าวตาม
กลับพบว่า มันเอาแต่ออกนอกลู่ เอาแต่ชมนก ชมไม้ เราจะเดินไปเบิ๊ดกะโหลกมันสักเผียะดีไหม ?
...........
มันน่าคิดนะ
............
คำถามเรื่องคนแต่ละรุ่น มันโยงกลับไปสู่คำถามข้างบน ถึงคุณและค่าของการเขียนที่เจ้านายผมยึดถืออยู่
ทั้งสองคำถามนี้ มันทำให้ผมนึกวลีเก่าแก่ (มั้ง) ที่พูดว่า
............
“ไม่สำคัญว่าคุณจะเป็นใคร แต่สิ่งที่คุณทำต่างหากจะเป็นตัวบอก”

Oh ! yeh